Posts

Showing posts from August, 2018

วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า  หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่าน ตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่ 2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า 3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด สำหรับสวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ 1. วงจรอนุกรม  เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกร...

มอเตอร์ คืออะไร

Image
มอเตอร์ คืออะไร มอเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกลในรูปแบบแรงหมุน การแบ่งประเภทของมอเตอร์  แบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท คือ 1.  มอเตอร์กระแสสลับ ( AC. Motor) 2.  มอเตอร์กระแสตรง ( DC. Motor)   *** แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงมอเตอร์กระแสสลับ ( AC. Motor)  เท่านั้น *** รูปโครงสร้างของมอเตอร์ โครงสร้างภายในของ  Induction Motor  ประกอบด้วย  2  ส่วน คือ 1.  ส่วนที่ตรึงอยู่กับที่ ซึ่งเรียกว่า  “ สเตเตอร์ ” (STATOR) 2.  ส่วนที่หมุน ซึ่งเรียกว่า  “ โรเตอร์ ”  ( ROTOR)   สูตรพื้นฐานของมอเตอร์               Motor speed  ( N)    ;  ความเร็วรอบของมอเตอร์ มีหน่วยเป็น  rpm. หรือ รอบต่อนาที            Frequency (f)        ;  ความถี่ มีหน่วยเป็น  Hz   ;  Ref....

buzzer

Image
ออด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา ออดขนาดเล็ก เบอร์ KS-3206 สำหรับไฟ 6 โวลต์  กระแสตรง ออด  ( อังกฤษ :  buzzer ) คืออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ส่งเสียงสัญญาณเตือน ติดตั้งใช้งานบนแผงควบคุม, ตัวตั้งเวลา, อุปกรณ์รับ/ส่งสัญญาณเตือน, หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป โดยทั่วไป ภายในออดจะประกอบด้วย ขดลวด  ต่ออนุกรมกับแผ่นสั่นสะเทือนซึ่งทำหน้าที่เป็นหน้าสัมผัสตัดต่อวงจร (คล้ายกับ กริ่งไฟฟ้า ), เมื่อจ่ายไฟ หน้าสัมผัสที่ต่อวงจรอยู่ จะทำให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร เกิด สนามแม่เหล็ก ที่ขดลวด ดึงแผ่นสั่นสะเทือนเข้าหาขดลวด, เมื่อแผ่นสั่นสะเทือนถูกดึง หน้าสัมผัสจะแยกออกจากกัน ทำให้วงจรขาด และแผ่นสั่นสะเทือนดีดกลับเข้าที่เดิม ต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลได้อีกครั้ง ซ้ำไปเรื่อยๆ ทำให้กลายเป็นการสั่นสะเทือนต่อเนื่อง เกิดเป็นเสียงดัง "ออด" ขึ้น ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%94

LEDคืออะไร

Image
หลักการทำงานของ LED เพื่อให้ทันต่อกระแส การเข้าใจและรู้หลักการทำงาน LED จึงน่าจะเป็นประโยชน์ เพื่อที่จะได้เปิดใจและยอมรับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นอนาคตของพวกเราทุกคน เริ่มจากคำย่อ LED L-Light แสง E-Emitting เปล่งประกาย D-Diodeได แปลรวมกัน ก็คือ "  ไดโอดชนิดเปล่งแสง  " มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจรคือ สัญลักษณ์ LED ส่วนหน้าตาของ LED ที่เห็นกันบ่อย ๆ ในวงจร ก็ให้ดูรูป ตัวอย่าง LED โอด  คือ สารกึ่งตัวนำประเภทหนึ่ง ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว ไดโอด นั้นมีใช้อยู่ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้า ไดโอดทั่วไป มีสัญลักษณ์ คือ  ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ไม่มีลูกศรแสดงการเปล่งแสง การต่อวงจร หลักการต่อวงจรของ LED ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงจ่ายไฟบวกกระแสตรงเข้าที่ขา อาร์โนด (Anode) หรือขาที่ยาวกว่า และต่อไฟลบเข้ากับขา แคโธด(Cathode)หรือขาสั้น จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมตัว LED ที่เรียกว่า Vf หรือ Farword Voltage เมื่อมีแรงดันตกคร่อม Vf ที่ว่านี้  ด้วยคุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำภายใน LEDก็จะเปล่งแสงออกมา แต่เพื่อจำกัดไม่ให้กระแสไหลผ่าน  LED มากจนเ...

อิเล็กทรอนิกส์

Image
ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตออกมาใช้งานเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงานทั้งสิ้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เรารู้จักเป็นอย่างดีได้แก่ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์   เครื่องซักผ้าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3   เป็นต้น จากอุปกรณ์ไฟฟ้าดังถ้าหากมีใครถามเราว่าอุปกรณ์ตัวใดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราอาจจะบอกได้ว่า เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเครื่องซักผ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนคอมพิวเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์       โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น   MP3  เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แล้วเราเคยสงสัยหรือไม่ว่าการแบ่งว่าอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เราใช้หลักเกณฑ์อย่างไร เพื่อให้เราเข้าใจเกี่ยวกับหลักการในการอธิบายว่า   อุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์   ยื่น ภู่วรวรรณ ( 2521: 3)  ได้อธิบายไว้ว่า การศึกษาวิชาไฟฟ้า   จะเน้นหนักในแง่ของการนำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์   โดยจุดมุ่งหมายหลักจ...

.ไฟฟ้าคืออะไร

Image
1.ไฟฟ้าคืออะไร ในการทำความเข้าใจเรื่องของไฟฟ้า สิ่งที่ควรรู้ในเบื้องต้น ก็น่าจะเป็นความหมายของไฟฟ้าว่าไฟฟ้ามันคืออะไรกันแน่? - ตามหนังสือวิทยาศาสตร์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ มักจะให้ความหมายที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น          ไฟฟ้า คือ พลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน          ไฟฟ้า คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประจุเคลื่อนที่ผ่านตัวนำไฟฟ้า ในหนึ่งหน่วยพื้นที่หน้าตัด ในหนึ่งหน่วยเวลา -  ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน           ไฟฟ้า (คำนาม) คือ พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการ เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน หรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่ ประวัติการค้นพบไฟฟ้า ไฟฟ้า หรือ Electricity ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า ēlectricus ในภาษากรีก เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งประวัติความเป็นมาของไฟฟ้านั้น...

กลไกคืออะไร

ระบบและกลไกตามนิยามศัพท์ของคู่ มือการประกันุคณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557 ซึ่งกล่าวไว้ในบทที่ 3 นิยามศัพท์ มีรายละเอียดดังนี้ ระบบ คือ  หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มี การกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้ องทำอะไรบ้าง  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้ องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้ องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่ าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกั น  กลไก  คือ  หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่ อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนิ นงาน      เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติของขั้ นตอนหรือระบบของมหาวิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดรูปแบบเอกสารที่ แสดงขั้นตอนของระบบและกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้องกับการดำเนิ นงาน และสอดคล้องกับกรอบการประเมินคุ ณภาพภายในปี 2557 ระดับสถาบัน คณะ และหลักสูตร โดยออกเป็นประกาศขั้ นตอนการดำเนินงานของระบบแต่ ละระบบ พร้อมมีผังระบบงานที่แสดงถึ งค...

คุณสมบัติของพลาสติก คืออะไร

Image
คุณสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิด คุณสมบัติของพลาสติกแต่ละประชนิด คุณสมบัติของพลาสติก  ABS พลาสติกทั่วไปจะมีลักษณะแข็งแต่เปราะแตกหักง่าย หรือถ้ามีลักษณะแข็งเหนียวก็จะมีลักษณะอ่อนนิ่มไม่อยู่ทรง แต่พลาสติก abs แตกต่างจากพลาสติกทั่วไปเพราะเป็นพลาสติกที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องความแข็งและความเหนียว สามารถคงสภาพรูปร่างได้ดี ทำให้มีคุณสมบัติทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี และยังทนต่อแรงเสียดสี ความร้อน สารเคมีได้ดีกว่าพลาสติกธรรมดาทั่วไป มีช่วงอุณหภูมิที่สามารถใช้งานได้กว้างนั่นคือ -20 องศาเซลเซียสถึง 80 องศาเซลเซียส โครงสร้างของพลาสติก  ABS พลาสติก ABS ได้มาจากการทำปฏิกิริยาของโมโนเมอร์ 3 ชนิดคือ สไตรีน (styrene) , อะคริโลไนไตรล์ (acrylonitrile) และโพลิบิวทาไดอีน (polybutadiene) ซึ่งโมโนเมอร์ทั้ง 3 ชนิดล้วนส่งผลต่อคุณสมบัติของพลาสติก ABS โดยอะคริไลไนโตรล์ช่วยให้ทนความร้อนและสารเคมี บิวทาไดอีนช่วยให้มีความทนทานต่อแรงกระทบกระแทก ส่วนสไตรีนช่วยให้เนื้อพลาสติกมีพื้นผิวเป็นมันเงาสวยงาม และสามารถตัดแต่งรูปทรงได้ง่าย ผู้ผลิตพลาสติก ABS จึงสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนของโมโนเมอร์ทั้ง 3 ชนิดเพื่...

คุณสมบัติของโลหะ คือ

คุณสมบัติของโลหะสามารถแยกได้ทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้ คุณสมบัติทางกล (Mechanical properties) ได้แก่ ความแข็ง (Hardness) ความแกร่ง (Strength) คุณสมบัติความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ได้แก่ โมดูลัสความยืดหยุ่น (Modulus of elasticity) คุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties) ได้แก่ ความทนทานต่อการกัดกร่อน คุณสมบัติทางไฟฟ้า (Electrical properties) ได้แก่ ความต้านทานทางไฟฟ้า คุณสมบัติทางความร้อน (Thermal properties) ได้แก่ อุณหภูมิจุดหลอมเหลว คุณสมบัติอื่นๆ ได้แก่ ความสึกหรอ (Wear) และความหนาแน่น คุณสมบัติทางกล สำหรับวิชาโลหะวิทยา  คุณสมบัติขั้นพื้นฐานในทางกลนั้นประกอบด้วยความแข็งแกร่ง ความแข็ง และความเหนียว (Ductility) ซึ่งทั้ง 3 คุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โดยที่ค่าความแข็งและความแข็งแกร่งจะแปรผกผันกับค่าความเหนียว กล่าวคือ เมื่อวัสดุมีค่าความเหนียวมาก ค่าความแข็งและความแข็งแกร่งจะลดลง ตรงกันข้ามเมื่อวัสดุมีค่าความแข็งและความแข็งแกร่งมากขึ้น ค่าความเหนียวจะลดลงจนทำให้วัสดุมีความเปราะ (Brittle) ความแข็ง ความแข็ง  หมายถึงคว...